ขณะนี้คุณอยู่ที่ > หน้าแรก > ข่าวประชาสัมพันธ์ > ข่าวกิจกรรม

ตุงล้านนา' สัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชาวล้านนา


22 เมษายน 2566 713


ภาพตุงผืนยาวปลิวสะบัดยามเมื่อต้องลม สามารถพบเห็นได้ตามวัดหรือตามงานเทศกาลต่างๆที่จัดขึ้นทางจังหวัดในภาคเหนือ ซึ่งกล่าวได้ว่า ‘ตุง’ หรือที่ภาคกลางเรียกกันว่า ‘ธง’ นั้นถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งสัญลักษณ์ของชาวล้านนา ชาวล้านนานั้นทำตุงขึ้นเพื่อถวายเป็นพุทธบูชาและอุทิศให้กับผู้ล่วงลับและยังถวายเป็นปัจจัยส่งกุศลให้แก่ตนในภพหน้า โดยเชื่อว่าเมื่อถวายตุง (ทานตุง) แล้วจะได้เกาะชายตุงขึ้นสวรรค์ ถือได้ว่าตุงมีบทบาทและมีความเป็นมาที่ยาวนาน ดังพบในหลักฐานในศิลาจารึกที่ฐานรูปปั้นพระฤาษีเป็นทองสำริดที่ดอยตุงว่า พระอินทร์ได้ทานตุงไว้กับพระธาตุดอยตุงหนึ่งผืน นอกจากนี้ในตำนานพระสิงหนวัติยังกล่าวถึงพระมหากัสสปะเถรเจ้าอธิษฐานคันตุงยาว 7,000 วา กว้าง 500 วาเพื่อบูชาพระธาตุเจ้าตุงผืนนี้มีวรรณะ 6 ประการ คือ เขียว ขาว ดำ แดง หม่น เหลือง บูชาพระธาตุเจ้า คนทั้งหลายที่ได้เห็นตุงจึงเรียกดอยแห่งนั้นว่า ‘ดอยตุง’

ตุงถูกนำมาใช้ในพิธีกรรมของชาวล้านนามานานแล้ว จึงมีคัมภีร์ธรรมที่เกี่ยวกับอานิสงค์ของการทานตุงในพระพุทธศาสนาดังที่ปรากฎในตำนานล้านนาที่เล่าขานเกี่ยวกับตำนานของ ‘แม่กาเผือก’หรือ ‘ตำนานพระเจ้าห้าตน’ ได้แก่ พระกกุสันธะ พระโกนาคมนะ พระกัสสปะ พระโคตมะ และพระอาริยเมตตรัย เนื้อเรื่องเน้นคติธรรมด้านความกตัญญูที่มีต่อพระคุณของพ่อและแม่

สำหรับส่วนประกอบของตุงตั้งแต่ยอดจนถึงปลาย ได้สื่อถึงตัวแทนของพระพุทธเจ้าทั้ง 5 องค์ ดังนี้ ‘หัวตุง’ คือไม้ซักผ้าแทนความหมายถึงคนซักผ้าหรือพระอาริยเมมตรัย ‘รูปไก่และส่วนบนของตุง’ แทนไก่หรือกกุสันธะ ‘ส่วนลำตัว’ ที่ทอดยาวของตุงแทนนาคหรือโกนาคมนะ และ ’ลวดลายตารางเกล็ดเต่า’ หรือลวดลายสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัดแทนเต่าหรือพระกัสสปะ ‘หมากตาวัว’ หรือลูกกลมประดับตุงแทนวัวหรือโคตมะ

สำหรับรูปแบบของตุงจะมีทั้งเย็บ ปัก ถัก ทอ มีลักษณะเป็นธงห้อยลงมาหรือบางครั้งจะแกะสลักไม้อย่างวิจิตรบรรจงเพื่อทำเป็นตุงกระด้าง แต่หากทำมาจากผ้าฝ้ายจะเรียกว่าตุงผ้าทอโดยทั่วไปมีขนาดกว้าง 15-50 ซม. ยาว 1-6 เมตร โครงสร้างประกอบด้วย ส่วนหัว-ตัว-หาง นิยมทอด้วยฝ้ายสีขาว มีลวดลายขิตสีดำและแดงเป็นเส้นพุ่ง อาจสอดสีอื่น ๆ เพื่อความสวยงาม ส่วนตุงใย ใช้เส้นฝ้ายสีขาวมัดหรือถกคล้ายแมงมุมชักใย มีไม้ไผ่สอดเป็นโครงยึดเป็นช่วง ๆ ทำด้วยวัสดุต่าง ๆ เป็นดอกไม้ หรือพู่ห้อย

นอกจากนี้ยังมีตุงกระดาษ เช่น ตุงไส้หมู ไส้ช้าง ตุงพญายอ โดยการนำกระดาษแก้วสีต่าง ๆ อย่างน้อยแผ่นละสีมารวมกัน พับไปมาแล้วตัดสลับไม่ให้ขาดจากกันเมื่อคลี่ออก และจับหงายขึ้นจะเป็นช่อพวงยาว ผูกติดกับไม้ยาวประมาณ 1 เมตร ปักตกแต่งหรือใช้ร่วมขบวนแห่ครัวทานเข้าวัดหรือปักเจดีย์ทรายในเทศกาลสงกรานต์

.........................................................

อ้างอิง : 
ผู้จัดการออนไลน์. (2548)  “ตุง” หนึ่งในสัญลักษณ์แห่งล้านนา.  10 เมษายน 2566, จาก https://mgronline.com/travel/detail/9480000052657

---
#เชียงใหม่ #chiangmai #พิพิธภัณฑ์ #Museum #หอกลางเวียง #หอพื้นถิ่นล้านนา #หอประวัติศาสตร์เมืองเชียงใหม่ #ศูนย์มรดกเมืองเทศบาลนครเชียงใหม่
  • Share this post!
แนะนำเทศบาล   + ข้อมูลทั่วไป   + บุคลากร   + หน่วยงานภายใน
เอกสาร/รายงาน   - แผนพัฒนาท้องถิ่น   - เทศบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี   - รายงานการติดตามประเมินผล   - แผนพัฒนาการศึกษา   + งานกิจการสภาเทศบาลนครเชียงใหม่   - รายงานสรุปผลการประเมินประสิทธิภาพของ อปท. (LPA)   - การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสฯ(ITA)   - รายงานการประชุมคณะกรรมการพัฒนาเทศบาลฯและประชาคมท้องถิ่น   + รายงาน/เอกสารดาวน์โหลดอื่นๆ   + การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสฯ (ITA) 2023
ประกาศต่างๆ   + ประกาศราคากลาง   + ข่าวประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์(e-bidding)   + ประกาศผู้ชนะการเสนอราคา   + ประกาศสมัครงาน/รับโอน   - มาตรการเพื่อป้องกันการทุจริต   + ศูนย์ประสานงานการเลือกตั้งเทศบาลนครเชียงใหม่   - TIA จัดซื้อจัดจ้าง
ข้อมูลบริการ   - ถามตอบ   - ติดต่อเรา   + ส่วนควบคุมอาคารและผังเมือง   + ศูนย์ช่วยเหลือประชาชนเทศบาลนครเชียงใหม่   + กองการเจ้าหน้าที่   - ประกาศความเสี่ยงด้านทุจริต   - รวบรวมผลงานที่ผ่านมา   - รายงานผลข้อร้องเรียน   + ฐานข้อมูลตลาด   - คู่มือประชาชน   - คู่มือปฏิบัติงานสำหรับเจ้าหน้าที่   - E-Service   - แบบฟอร์ม Download (สำหรับประชาชน)   - คลองแม่ข่า
สำนักงานเทศบาลนครเชียงใหม่ ตั้งอยู่ที่ ๑ ถนนวังสิงห์คำอ.เมือง จ.เชียงใหม่
053-259000

©Copyrights. All rights reserved. ©สงวนลิขสิทธิ์เทศบาลนครเชียงใหม่